หน้าแรก > รอบรู้เรื่องตา > รอบรู้เรื่องตา

วิวัฒนาการการรักษาสายตาผิดปกติด้วยเลเซอร์ อ่าน 1,404

วิวัฒนาการการรักษาสายตาผิดปกติด้วยเลเซอร์

Generation 1 - วิธีการปรับความโค้งของผิวหน้ากระจกตาโดยการใช้อุปกรณ์ขูดผิดกระจกตาด้านนอกสุดออก


ชั้นของผิวกระจกตาด้านนอกสุด (Epithelium) เป็นชั้นของเนื้อกระจกตาที่สามารถสร้างตัวเองขึ้นได้ใหม่เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลง ดังนั้นการปรับผิวกระจกตาด้วยวิธีนี้จะทำการขูดผิวกระจกตาด้านนอกสุดออกจนกระทั่งถึงชั้นรองลงมาคือ ชั้นที่มีชื่อเรียกว่า Bowman’s Membrane เรียกกระบวนการนี้ว่า Photorefractive Keratectomy (PRK)ซึ่งยังเป็นวิธีการผ่าตัดที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน

Generation 2- การแก้ปัญหาสายตาด้วยวิธีเลสิก (Laser-Assisted in situ Keratjomileusis; LASIK)



เป็นการแก้ปัญหาความผิดปกติของสายตาในบริเวณชั้น Stromal Layer เป็นการปรับแต่งความโค้งในชั้น Stroma ของกระจกตาและใช้วิธีแยกชั้นกระจกตาโดยใช้เครื่องมือที่เรียกว่า Microkeratome หรือ Femtosecond Laser

Generation 3 - ReLEx SMILE (Small Incision Lenticule Extraction)



เป็นการปรับแต่งเนื้อเยื่อกระจกตาภายในชั้น Stroma โดยไม่ต้องทำการเปิดฝากระจกตาเพื่อแยกชั้นเหมือนวิธีเลสิก แต่จะใช้วิธีคำนวณค่าชิ้นเนื้อชั้นใน Stroma แบบ 3 มิติ ที่เรียกว่า Lenticule แล้วทำการตัดแยกชิ้น Lenticule ดังกล่าวออกจากชั้น Stroma ด้านในโดยเลเซอร์ความเร็วสูง Femtosecond แล้วดึงออกผ่านแผลขนาดเล็กประมาณ 2-4 มม. กรรมวิธีดังกล่าวสามารถปรับเปลี่ยนความโค้งของกระจกตา (ขนาดของชิ้น Lenticule ที่ตัดออกมามีขนาดเท่ากับค่าสายตาที่คำนวณเพื่อใช้ในการปรับแต่งผิวกระจกตาด้านหน้าในวิธีเลสิก)